wel come n.unna karoonwilai suwanraksa: ตุลาคม 2012

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เต็มๆประเทศไทยพายุน้องใหม่เสียบแทนแกมี ''พระพิรุณ''

รับมือพายุแกมี – พระพิรุณจ่อเข้าไทยอีกลูก

พายุแกมี


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรฯ กล่าวถึง สถานการณ์ของ พายุแกมี ที่จะส่งผลต่อประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค.ช่วงเวลา 20.00 น. ว่าต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ว่าจะเป็นโซนร้อน  ดีเปรสชั่น หรือปรับตัวเป็นหย่อมกดอากาศ
อย่างไรก็ตาม ให้จับตาพายุอีกลูกที่กำลังก่อตัวในทะเลจีนใต้ ซึ่งหากเป็นพายุจะได้ชื่อว่าพายุพระพิรุณ (เป็นชื่อตามคิวของประเทศไทย) คาดว่าอาจจะเข้าประเทศไทย ในช่วงวันที่ 20 ต.ค.คาดว่าจะเข้าแนวเดิมทางภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ตอนบน
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เรียกประชุมร่วมกับผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุแกมี ซึ่งจะส่งผลทำให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร ประมาณ 80% ได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ ผู้ว่ากรุงเทพ ยังได้กำชับให้ผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต เตรียมรับมือ รวมทั้ง 13 เขต 27 ชุมชน ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งให้เตรียมความพร้อมของบุคคลากรและเครื่องมือไว้ล่วงหน้ากว่า 200 จุด ทั่วกรุงเทพ

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข่าวพายุแกมีมาแล้วจ้า

พายุแกมีพิสูจน์การแก้ปัญหาน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555 เวลา 07:14 น.
ระหว่างวันที่ 5-6 ต.ค.นี้ที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนพายุโซนร้อน “แกมี” ว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม โดยจะเริ่มมีผลกระทบต่อภูมิอากาศของประเทศไทยระหว่างวันที่ 4-8 ต.ค. นี้ ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยเกิดฝนตกหนาแน่น และฝนตกหนักมากในบางแห่งได้ทั้ง 4 วัน โดยให้ประชาชนระวังน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม ดินโคลนถล่มพังบ้านเรือนได้ ซึ่งพายุ “แกมี” เป็นพายูลูกแรกที่มีผลต่อประเทศไทยโดยตรง
 
ทุกปีจะต้องมีพายุพัดเข้าไทยเป็นเรื่องปกติที่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ที่เจอ เป็นประจำปีได้ตื่นตัวป้องกันอยู่ตลอดเวลา พายุที่พัดเข้ามาแต่ละปีก็ย่อมทำให้มีฝนตกหนักมากจนเกิดน้ำป่าไหลหลากดิน ถล่มบ้านเรือนในหลายจังหวัด ถ้ามีพายุเข้ามาหลายลูกติดต่อกันความเสียหายก็จะยิ่งทวีคูณขึ้นอย่างเช่นปี ที่ผ่านมา วันนี้ของปีที่แล้วประเทศไทยโดนฤทธิ์ของพายุเล่นงานไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค.จนกระทั่งเดือน ก.ย.ถึง 4 ลูก แต่ทว่าปีนี้พายุเพิ่งเข้ามาเยือนไทยเป็นลูกแรกในเดือน ต.ค. ความแตกต่างของมวลน้ำจากฝนที่ตกลงมาจึงย่อมมีปริมาณแตกต่างกันที่ทำให้ ประชาชนสบายใจไปได้บ้าง
 
กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่หลาย ๆ ฝ่ายเฝ้าจับตาดูว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วม กทม.จะร่วมมือกันอย่างเต็มที่หรือไม่ เพราะมีบทเรียนจากร่องของมรสุมฝนที่ตกกระหน่ำลงมาก่อนหน้าที่พายุ “แกมี” จะพัดเข้าสู่ไทย ก็ทำให้พื้นที่เกือบทั่ว กทม.เกิดน้ำท่วมสูงบนผิวถนน ซึ่งแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารจัดการน้ำออกมาโยนปัญหาที่ เกิดขึ้นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำท่วม เหตุที่โยนกันไปโยนกันมาก็เพราะแต่ละฝ่ายไม่ใช่เป็นฝ่ายเดียวกัน เพราะสังกัดคนละพรรคที่เป็นพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้าน ก็เลยกลายเป็นเกมการเมืองมากกว่าที่จะช่วยกันคิดหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง
 
อย่างไรก็ตามจากข่าวคราวที่ประชาชนได้รับรู้ก็คือรัฐบาลได้เตรียมแผนรับมือ ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่จากผลกระทบของพายุ “แกมี” โดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานครนั้น เชื่อว่าทุกฝ่ายต่างเฝ้าติดตามดูว่ารัฐบาลกับ กทม. จะประสานงานกันแก้ปัญหาน้ำท่วมจากพายุฝนที่ตกลงมาโดยไม่มีการประสานงากัน หรือไม่ วันนี้และอีก 2 วันข้างหน้าจากฝนฟ้าที่ตกลงมาในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็จะพิสูจน์ทราบว่ารัฐบาลกับ กทม. ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อคนกรุงด้วยความจริงใจหรือไม่ ถ้าหาเหตุอะไรมาดิสเครดิตกันเหมือนเดิม ไม่มีฝ่ายไหนได้รับเสียงชื่นชมอย่างแน่นอน.